เจดีย์ยุทธหัตถี (เจดีย์เฉลิมพระเกียรติพระเจ้ารามคำ – ตากแหล่งท่องเที่ยว
ผลิตภัณฑ์ / ตราสินค้า :
เจ้าของบริษัท/ฝ่ายการตลาด/ฝ่ายข้อมูล มีความสนใจที่จะลงโฆษณา ยี่ห้อสินค้า, ผลิตภัณฑ์, ตราสินค้า หรือปรับฐานข้อมูลให้ ล่าสุด ติดต่อสอบถามได้ที่อีเมล์
ข้อมูล : หรือเจดีย์เฉลิมพระเกียรติพระเจ้ารามคำแหงมหาราช หรือ ชาวบ้านเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เจดีย์ชนช้าง ตั้งอยู่บนดอยช้าง ตำบลเกาะตะเภา ดอยช้างเป็นเนินดินเล็ก ๆโบราณสถานที่มีอายุอยู่ในสมัยสุโขทัยราว 700 ปีเศษแห่งนี้ ปรากฏความสำคัญในหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ เมืองตาก ชาวบ้านนิยมเรียกเจดีย์แห่งนี้ว่าเจดีย์ชนช้าง ซึ่งดอยช้างนั้นเป็นเนินดินเล็ก ๆ ที่อยู่ทางเหนือของดอยพระธาตุไปเล็กน้อย และองค์เจดีย์ยุทธหัตถีอยู่เยื้องกับวัดพระบรมธาตุประมาณ 200 เมตร ลักษณะของเจดีย์ยุทธหัตถีแห่งนี้เป็นศิลปะแบบสุโขทัยคล้ายกับเจดีย์องค์อื่นในเมืองสุโขทัย ก่ออิฐถือปูนฐานกว้าง 12 เมตร เป็นเรือนธาตุรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมขึ้นไปสูง 16 เมตร เหนือเรือนธาตุทำเป็นลำสี่เหลี่ยมย่อมุมตลอดถึงยอดที่เป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ และบนยอดสุดมีฉัตร ทั้งนี้องค์เจดีย์ผ่านการซ่อมแซมตลอดมา แต่ไม่เสียทรงเดิม ฐานพุ่มมีลายปั้นเป็นรูปหน้าสิงห์สวยงาม หน้าสิงห์บ้านทิศเหนือยังสมบูรณ์บ้านอื่น ชำรุดและมีรอยซ่อมแซมเช่นกัน อย่างไรก็ตาม สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวถึงเรื่องเจดีย์ยุทธหัตถี ในหนังสืออธิบายระยะทางล่องลำน้ำปิงว่า “มีพระเจดีย์องค์หนึ่งบนดอยช้างเหนือดอยพระธาตุ เรียกว่า พระปรางค์ แต่ที่จริงเป็นพระเจดีย์แบบสุโขทัย เหมือนพระเจดีย์องค์กลางที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวเมืองศรีสัชนาลัย และพระเจดีย์ที่วัดกระพังเงิน ในเมืองสุโขทัย พระเจดีย์รูปนี้ที่วัดพระธาตุเมืองกำแพงเพชรก็มีอีกองค์หนึ่ง เข้าใจว่าเป็นฝีมือช่างครั้งกรุงสุโขทัยสร้างไว้ ขนาดสูงตลอดยอดประมาณ 20 วา มีผู้ซ่อมแต่ซ่อมดีไม่แก้รูปเดิม ลายหน้าราหูยังปรากฏอยู่ พระเจดีย์องค์นี้สร้างบนยอดดอยที่ต่ำกว่าดอยที่สร้างพระธาตุ ควรเข้าใจว่าสร้างที่หลังพระธาตุ” สำหรับเรื่องศึกชนช้างนั้น จากหลักฐานศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ได้ระบุว่า เมื่อครั้งพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ อันเป็นวงศ์พระร่วงครองกรุงสุโขทัยนั้น ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้เข้ามาตีเมือง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ตกทัพ พ่อขุนรามคำแหงผู้ราชบุตรจึงเข้าชนช้างกับขุนสามชนจนมีชัยชนะ ข้าศึกแตกพ่ายไป น่าสันนิษฐานว่าพระเจดีย์องค์นี้จะสร้างเป็นของเฉลิมพระเกียรติเรื่องชนช้างคราวนั้น และอาจเป็นที่มาของชื่อ เจดีย์เฉลิมพระเกียรติพระเจ้ารามคำแหงมหาราชแต่พระเจ้ารามคำแหงจะสร้างเองหรือจะสร้างในรัชกาลต่อมานั้น ไม่มีหลักฐานที่ระบุไว้ชัดเจน
ประเภท : แหล่งท่องเที่ยว
โทรศัพท์ :
โทรสาร :n/a
อีเมลล์ :
เว็บไซท์ :
จุดเด่น :
แผนที่เดินทางไปยัง เจดีย์ยุทธหัตถี (เจดีย์เฉลิมพระเกียรติพระเจ้ารามคำ – ตาก